สื่อ
และนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการจัดการเรียรู้คณิตศาสตร์
นนทชัย ไชยยอด
สาขาคณิศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัชพระนคร
บทนำ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาได้พยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ทางด้านการศึกษา
ในการจัดการเรียนการสอนครู เพื่อผลิตสื่อ และนวัตกรรมการเรียนการสอนใหม่ๆ
จำนวนมากมาย เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive
Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต
เป็นต้น
บทความฉบับนี้ ได้รวบรวมสาระความรู้ในประเด็นที่ของสื่อ
และนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ซึ่งจำเป็นต่อการศึกษาของนักเรียนในอนาคตในศตวรรษที่ 21 ที่มีการพัฒนาของเทศโนโลยีไปอย่างกว้งขวางรวดเร็ว และสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนของครูได้
โดยรวบรวมคุณภาพของผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2551 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และแนวทางการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เอาไว้
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความฉบับนี้จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และเป็นประโยชน์สาหรับนำไปใช้เป็นข้อมูลในการสร้างสื่อ
และนวัตกรรมได้
ผู้จัดทำ
8 ธันวาคม 2558
ความหมายของสื่อ
สำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร (2558, 8 ธันวาคม) กล่าวว่า เมื่อพิจารณาคำว่า
"สื่อ" มีความหมายตรงกับคำว่า "media" เป็นคำที่มาจากภาษาละตินว่า
"medium" แปลว่า "ระหว่าง" หมายถึง
สิ่งใดก็ตามที่บรรจุ
ข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์
คำว่า
"สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้
ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น
สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง
ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน
Heinich และคณะ
(1996) Heinich เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน
ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า
"media" ไว้ดังนี้ "Media is a
channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
"สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า
"media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง
(between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ
สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร
" A. J. Romiszowski
(1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา
และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse
University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting
source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of
the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
"ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์
หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ
ผู้เรียน)"
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า
สื่อ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่นำมาเป็นตัวกลางในการนำพาข้อมูลระหว่างแหล่งกำเนิดข้อมูลของสารหรือผู้ส่งสารนั้นกับแหล่งรับข้อมูลหรือผู้รับสาร
(ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสารนั้น
ความหมายของสื่อการสอนและสื่อการจัดการเรียนรู้
สำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร (2558, 8 ธันวาคม) กล่าวว่า สื่อการสอน
ได้มีนักวิชาการ และนักเทคโนโลยีการศึกษา
ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของ “ สื่อการสอน”
ไว้หลายท่าน พอสรุปได้ ดังนี้
เชอร์ส (Shores.
1960 : 1) กล่าวว่า
สื่อการสอนเป็นเครื่องมือช่วยสื่อความหมายใด ๆ ก็ตามที่จัดโดยครูและนักเรียน
เพื่อเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดเป็นสื่อการสอน เช่น
หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ ทรัพยากรจากชุมชน เป็นต้น
ฮาส
และแพคเกอร์ (Hass and PacKer. 1964 : 11) กล่าวว่า
สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นจริงได้แก่ ทักษะ
ทัศนะคติ ความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้งไปยังผู้เรียน
หรือเป็นเครื่องมือประกอบการสอน ที่เราสามารถได้ยินและมองเห็นได้เท่า ๆ กัน
บราวน์
และคณะ (Brown and other. 1964 : 584) กล่าวว่า
สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน
จนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ
ไม่เฉพาะที่เป็นวัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต
การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์ เป็นต้น
เกอร์ลัช
และอีลี (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526 :141 : อ้างอิงมาจาก Gerlach
and Ely.) ได้ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน คือ
บุคคล วัสดุหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ครู
หนังสือ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น
ไฮนิคส์ โมเลนดาและรัสเซล (Heinich, Molenda and
Russel. 1985 : 5) ให้ทัศนะเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า
สื่อการสอน หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นสไลด์ โทรทัศน์ วิทยุ เทปบันทึกเสียง
ภาพถ่าย วัสดุฉาย
และวัตถุสิ่งตีพิมพ์ซึ่งเป็นพาหนะในการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับ
เมื่อนำมาใช้กับการเรียนการสอน
หรือส่งเนื้อหาความรู้ไปยังผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน เรียกว่า สื่อการสอน
เปรื่อง กุมุท (2519 : 1) กล่าวว่า
สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือ
หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน
และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้อย่างดี
วาสนา ชาวหา (2522:59) กล่าวว่าสื่อการสอนหมายถึงสิ่งใดๆก็ตามที่เป็นตัวกลางนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน
และทำให้การเรียนการสอนเป็นไป ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 4) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้
ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ชม ภูมิภาค (2526 : 5) กล่าวว่า
สื่อการสอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการสอน
เป็นพาหนะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ชัยยงค์
พรหมวงศ์ (2529 : 112) ให้ความหมายของสื่อการสอนว่า คือ
วัสดุ (สิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ใช้ไม่ผุพังง่าย) วิธีการ (กิจกรรม เกม
การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้สื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ
(อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พิมพ์พรรณ เทพสุมาธานนท์ (2531 : 29) กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึงสิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับให้การสอนของครูกับผู้เรียน
และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์
หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้เป็นอย่างดี
สรุปได้ว่า
สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ที่ผู้สอนที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือ
เทคนิคหรือวิธีการในการจัดการเรียนการสอนหรือผู้สอนนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหา
ความรู้ ทักษะการะบวนการต่างๆ
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
สำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร (2558, 8 ธันวาคม) กล่าวว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา”
(Educational Innovation) หมายถึง
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน
และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ
(Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรมการเรียนการสอน
เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ
ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ
เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน
ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ
นวัตกรรมสื่อการสอน
เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม
ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ
จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน
ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง
นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(CAI)
- มัลติมีเดีย (Multimedia)
- การประชุมทางไกล
(Teleconference)
- ชุดการสอน (Instructional
Module)
- วีดีทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์
(Interactive Video)
สรุปได้ว่า
นวัตกรรมทางการศึกษาเป็นการพัฒนานำเอาสิ่งใหม่ อาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เพื่อมุ่งหวังที่ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆเข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อสามารถตอบสนองการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้จะเรียกว่า
นวัตกรรมการเรียนการสอน ส่วนนวัตกรรมสื่อการสอน เป็นการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม
ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน
และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์
ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน
รอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้
และ
สามารถนำ คณิตศาสตร์ไปประยุกต์เพื่อพัฒนาคุณภาพของชีวิตและพัฒนาคุณภาพของสังคมไทยให้ดีนั้น
ผู้จัดควรคำนึงถึงความเหมาะสมและความจำ เป็นในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ความพร้อมของสถานศึกษาใน
ด้านบุคลากร ผู้บริหาร ผู้สอน ผู้เรียน และสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดสาระการเรียนรู้จะต้องจัดให้
สอดคล้องกับสาระของกลุ่ม คณิตศาสตร์ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 ที่กำหนด
สาระการเรียนรู้ที่จำ เป็นสำหรับผู้เรียนทุกคนไว้ดังนี้
1) จำนวนและการดำเนินการ
2) การวัด
3) เรขาคณิต
4) พีชคณิต
5) การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6) ทักษะ / กระบวนการทางคณิตศาสตร์
สถานศึกษาต้องจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรูและมาตรฐานการเรียนรู้ชวงชั้นที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและได้กำหนดคุณภาพผู้เรียนเมื่อจบแต่ละช่วงชั้นไว้ดังนี้
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
1.
มีความรู้ความเข้าใจและความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์
และ
การดำเนินการของจำนวน สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ
และการหาร พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้
2.
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว
ระยะทาง น้ำหนัก ปริมาตร ความจุ เวลาและเงิน สามารถวัด
ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
และนำความรู้เกี่ยวกับการวัดไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
3.
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรง
กลม ทรงกระบอก รวมทั้ง จุด ส่วนของเส้นตรง รังสี เส้นตรง และมุม
4.
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแบบรูป
และอธิบายความสัมพันธ์ได้
5.
รวบรวมข้อมูล
และจำแนกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
และอภิปรายประเด็นต่างๆ จากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้
6.
ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา ใช้ความรู้
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา
ในสถานการณ์ต่าง
ๆ ได้อย่างเหมาะสม ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร
การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
1.
มีความรู้ความเข้าใจและความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับและศูนย์
เศษส่วน ทศนิยมไม่เกิน
สามตำแหน่ง ร้อยละ การดำเนินการของจำนวน สมบัติเกี่ยวกับจำนวน
สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ และการหารจำนวนนับ เศษส่วน
ทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง และร้อยละ
พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้
สามารถหาค่าประมาณของจำนวนนับและทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งได้
2.
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว
ระยะทาง น้ำหนัก พื้นที่ ปริมาตร ความจุ เวลา เงิน ทิศ
แผนผัง และขนาดของมุม
สามารถวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
และนำความรู้เกี่ยวกับการวัดไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้
3.
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและสมบัติของรูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม ทรง
สี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก กรวย
ปริซึม พีระมิด มุม และเส้นขนาน
4.
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแบบรูปและอธิบายความสัมพันธ์ได้
แก้ปัญหาเกี่ยวกับแบบรูป สามารถ
วิเคราะห์สถานการณ์หรือปัญหาพร้อมทั้งเขียนให้อยู่ในรูปของสมการเชิงเส้นที่มีตัวไม่ทราบค่าหนึ่งตัวและแก้สมการนั้นได้
5.
รวบรวมข้อมูล อภิปรายประเด็นต่าง ๆ
จากแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ
แผนภูมิรูปวงกลม กราฟเส้น และตาราง
และนำเสนอข้อมูลในรูปของแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ
และกราฟเส้น ใช้ความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นเบื้องต้นในการคาดคะเนการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ต่างๆ
ได้
6.
ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา ใช้ความรู้
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ
ได้อย่างเหมาะสม
ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร
การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ
ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
1.
มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับจำนวนจริง
มีความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน ร้อยละ
เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม
รากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง สามารถดำเนินการเกี่ยวกับจำนวนเต็ม เศษส่วน
ทศนิยม เลขยกกำลัง รากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง
ใช้การประมาณค่าในการดำเนินการและแก้ปัญหา
และนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนไปใช้ในชีวิตจริงได้
2.
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ผิวของปริซึม
ทรงกระบอก และปริมาตรของปริซึม ทรงกระบอก
พีระมิด กรวย และทรงกลม เลือกใช้หน่วยการวัดในระบบต่างๆ
เกี่ยวกับความยาว พื้นที่ และปริมาตรได้อย่างเหมาะสม
พร้อมทั้งสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการวัดไปใช้ในชีวิตจริงได้
3.
สามารถสร้างและอธิบายขั้นตอนการสร้างรูปเรขาคณิตสองมิติโดยใช้วงเวียนและสันตรง
อธิบาย
ลักษณะและสมบัติของรูปเรขาคณิตสามมิติซึ่งได้แก่ ปริซึม พีระมิด
ทรงกระบอก กรวย และ
ทรงกลมได้
ทรงกลมได้
4.
มีความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติของความเท่ากันทุกประการและความคล้ายของรูปสามเหลี่ยม
เส้น
ขนาน ทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับ
และสามารถนำสมบัติเหล่านั้นไปใช้ในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาได้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิต(geometric
transformation)ในเรื่องการเลื่อนขนาน(translation) การสะท้อน (reflection) และการหมุน (rotation) และนำไปใช้ได้
5.
สามารถนึกภาพและอธิบายลักษณะของรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
สามารถวิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของแบบรูป สถานการณ์หรือปัญหา
และสามารถใช้
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
และกราฟในการแก้ปัญหาได้
6.
สามารถกำหนดประเด็น
เขียนข้อคำถามเกี่ยวกับปัญหาหรือสถานการณ์ กำหนดวิธีการศึกษา เก็บ
รวบรวมข้อมูลและนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิรูปวงกลม หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสมได้
7.
เข้าใจค่ากลางของข้อมูลในเรื่องค่าเฉลี่ยเลขคณิต
มัธยฐาน และฐานนิยมของข้อมูลที่ยังไม่ได้แจก
แจงความถี่ และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
รวมทั้งใช้ความรู้ในการพิจารณาข้อมูลข่าวสารทางสถิติ
เข้าใจเกี่ยวกับการทดลองสุ่ม เหตุการณ์ และความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
สามารถใช้ความรู้
เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์และประกอบการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ
ได้
8.
ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา ใช้ความรู้
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และ
เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ
และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ ได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์ และนำความรู้
หลักการ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
1.
มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับระบบจำนวนจริง ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง จำนวนจริงที่อยู่ในรูป
กรณฑ์ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ
หาค่าประมาณของจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังโดยใช้วิธีการคำนวณที่เหมาะสมและสามารถนำสมบัติของจำนวนจริงไปใช้ได้
2.
นำความรู้เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติไปใช้คาดคะเนระยะทาง
ความสูง และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
ได้
3.
มีความคิดรวบยอดในเรื่องเซต
การดำเนินการของเซต และใช้ความรู้เกี่ยวกับแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์
แสดงเซตไปใช้แก้ปัญหา และตรวจสอบความสมเหตุสมผลของการให้เหตุผล
4.
เข้าใจและสามารถใช้การให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัยได้
5.
มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
สามารถใช้ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้
6.
เข้าใจความหมายของลำดับเลขคณิต
ลำดับเรขาคณิต และสามารถหาพจน์ทั่วไปได้ เข้าใจ
ความหมายของผลบวกของ n
พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต อนุกรมเรขาคณิต และหาผลบวก n
พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต และอนุกรมเรขาคณิตโดยใช้สูตรและนำไปใช้ได้
7.
รู้และเข้าใจการแก้สมการ
และอสมการตัวแปรเดียวดีกรีไม่เกินสอง รวมทั้งใช้กราฟของสมการ
อสมการ หรือฟังก์ชันในการแก้ปัญหา
8.
เข้าใจวิธีการสำรวจความคิดเห็นอย่างง่าย
เลือกใช้ค่ากลางได้เหมาะสมกับข้อมูลและวัตถุประสงค์
สามารถหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปอร์เซ็นไทล์ของข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
และนำผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลไปช่วยในการตัดสินใจ
9.
เข้าใจเกี่ยวกับการทดลองสุ่ม
เหตุการณ์ และความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ สามารถใช้ความรู้
เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ ประกอบการตัดสินใจ และแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ
ได้
10. ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และ
เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ
และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร
การสื่อความหมาย และการนำเสนอ ได้อย่างถูกต้อง
และชัดเจน เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ
ในคณิตศาสตร์ และนำความรู้ หลักการ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
แนวทางการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(2545) หลักการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
คือ การเปิด โอกาสใหผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ศึกษาค้นคว้าจากสื่อและเทคโนโลยีต่าง
ๆ โดยอิสระ ผู้สอนมีส่วนช่วยในการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้สอนทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ และชี้แนะในข้อบกพร่องของผู้เรียน
การจัดกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ในลักษณะให้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม
เป็นแนวการจัด
การเรียนรู้แนวหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ปัญหา
ปรึกษาหารือ อภิปราย และ
แสดงความคิดเห็นด้วยเหตุผลซึ่งกันและกัน ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทั้งด้านความรู้
ทักษะ/กระบวนการคิด
และมีประสบการณ์มากขึ้น ในการจัดกลุ่มให้ผู้เรียนร่วมกันแก้ปัญหา อาจจัดเป็นกลุ่มเล็กๆ 2 คน หรือ
กลุ่มย่อย 4 – 5 คน หรืออาจจัดเป็นกิจกรรมให้ผู้เรียนร่วมกันแก้ปัญหาเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นเรียนก็ได้
ทั้ง
นี้ขึ้นอยู่กับขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
สิ่งสำคัญที่ผู้สอนควรคำนึงถึงคือ
ความรู้พื้นฐานของผู้เรียนสำหรับการเรียนรู้เนื้อหาสาระใหม่ ขั้นเตรียมความพร้อมเพื่อนำเข้าสู่กิจกรรม
ผู้สอนสามารถใช้คำ ถามเชื่อมโยงเนื้อหาหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่เนื้อหาใหม่
หรือใช้ยุทธวิธี
ต่างๆ ในการทบทวนความรู้เดิม ในขั้นปฏิบัติกิจกรรมผู้สอนอาจใช้ปัญหาซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเรื่องราว
ในขั้นเตรียมความพร้อม และใช้ยุทธวิธีต่างๆ ให้ผู้เรียนสามารถสรุปหรือเข้าใจหลักการ
แนวคิด กฎ
สูตร สัจพจน์ ทฤษฎีบท หรือบทนิยามด้วยตนเอง ในขณะที่ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
ผู้สอนควรให้
อิสระทางความคิดกับผู้เรียน แต่ผู้สอนควรหมุนเวียนไปตามกลุ่มต่างๆ เพื่อคอยสังเกต
ตรวจสอบความ
เข้าใจและให้คำแนะนำ ตามความจำเป็น
การจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้ออกมานำ
เสนอแนวคิดของผู้เรียนแต่ละคนหรือแนวคิดของ
กลุ่มก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนควรปฏิบัติให้มีบ่อยๆ เพราะในการนำเสนอแต่ละครั้ง
ผู้เรียนมีโอกาสร่วม
แสดงแนวคิดเสริมเพิ่มเติมร่วมกัน หรือซักถามหาข้ออภิปรายขัดแย้งด้วยเหตุและผล
ผู้สอนมีโอกาสเสริม
ความรู้ขยายความหรือสรุปประเด็นสำคัญที่เป็นความคิดรวบยอดของสาระที่นำเสนอนั้น
ทำให้การเรียน
รู้ขยายในวงกว้างและลึกมากขึ้น ผู้เรียนสามารถนำความรู้หรือแนวคิดที่ได้จากการนำเสนอนั้นไปประยุกต์
หรือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติได้ผลดี อีกประการหนึ่งของการที่ผู้เรียนได้ออกมานำเสนอผลงาน
คือ ผู้
เรียนเกิดเจตคติที่ดี มีความภูมิใจในผลงาน เกิดความรู้สึกอยากคิด อยากทำ
กล้าแสดงออก และจดจำ
สาระที่ตนเองได้ออกมานำ เสนอได้นาน สำหรับขั้นการฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ
ผู้เรียนควรได้ฝึกเป็นราย
บุคคล หรืออาจฝึกปฏิบัติเป็นกลุ่มก็ได้ตามความเหมาะสมของสาระและกิจกรรม
เนื่องจากลักษณะการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานที่ต่อเนื่องกันในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็ก
ผู้สอนควรให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้จากการปฏิบัติ/ทำ
กิจกรรม ได้ฝึก
ทักษะ/กระบวนการ โดยฝึกการสังเกตฝึกให้เหตุผล และหาข้อสรุปจากสื่อรูปธรรมหรือแบบจำลองต่าง
ๆ
ก่อน และขยายวงความรู้สู่นามธรรมให้กว้างขึ้นสูงขึ้นตามความสามารถของผู้เรียน
ถ้าสาระเนื้อหาหรือ
กิจกรรมที่ผู้สอนจัดให้นั้นยากเกินไปหรือต้องอาศัยความรู้พื้นฐานที่สูงกว่าที่ผู้เรียนมี
ผู้สอนควรสร้างพื้น
ฐานความรู้ใหม่ อาจใช้วิธีลดรูปของปัญหานั้นให้ง่ายกว่าเดิม หรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมเพิ่มเติมให้
อีกก็ได้
รูปแบบของการจัดการเรียนรู้
รูปแบบของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีหลายรูปแบบ
ผู้สอนสามารถนำไปจัดให้เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลาเรียนของผู้เรียนได้ดังนี้
1) การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
2) การเรียนรู้จากการใช้คำ ถามประกอบการอธิบายและแสดงเหตุผล
3) การเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้า
4) การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
สรุปได้ว่า
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์จะต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเปิดโอกาสใหผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ศึกษาค้นคว้าจากสื่อและเทคโนโลยีต่าง
ๆ โดยอิสระ ผู้สอนมีส่วนช่วยในการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้สอนทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ
และชี้แนะในข้อบกพร่องของผู้เรียนโดยสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย 4 –
5 คน ในขั้นปฏิบัติกิจกรรมผู้สอนอาจใช้ปัญหาซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเรื่องราวในขั้นเตรียมความพร้อม
และใช้ยุทธวิธีต่างๆ ให้ผู้เรียนสามารถสรุปหรือเข้าใจหลักการ แนวคิด กฎ สูตร สัจพจน์
ทฤษฎีบท หรือบทนิยามด้วยตนเองและการจัดกิจกรรมจะต้องจัดให้เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลาเรียนของผู้เรียน
การนำสื่อ และนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์จะต้องจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนมีทักษะกระบวนทางคณิตศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรูและมาตรฐานการเรียนรู้และคุณภาพผู้เรียนเมื่อจบแต่ละช่วงชั้นตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อ
และนวัตกรรมการเรียนการสอนใหม่ๆ ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ทั้งทางด้านเนื้อหา
ทักษะกระบวนการทางณิตศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียน
และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น
การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)
การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ
(Hypermedia) มัลติมีเดีย (Multimedia) ชุดการสอน (Instructional Module) วีดีทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Video) และอินเตอร์เน็ต
เป็นต้น ในขั้นจัดการเรียนรู้ ผู้สอนมีส่วนช่วยในการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
และการจัดกิจกรรมจะต้องจัดให้เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลาเรียนของผู้เรียนเป็นสำคัญ
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ.
(๒๕๕๑). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558, 8 ธันวาคม). แนวทางการจัดการเรียนรู้.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://203.172.205.25/ftp/intranet/mc41/more/teach_learn.pdf
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2558, 8 ธันวาคม). บทความวิชาการ. ความหมายของสื่อเพื่อ
(การศึกษา)การเรียนรู้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
: http://www.bangkokeducation.in.th/article-details.php?id=324
. (2558,
8 ธันวาคม). บทความวิชาการ. ความหมายของนวัตกรรม
การศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
: http://www.bangkokeducation.in.th/article-details.php?id=1341
. (2558,
8 ธันวาคม). บทความวิชาการ. นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน
(ตอนที่ 1). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.bangkokeducation.in.th/article-details.php?id=1342
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น