วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

            การพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูอาจารย์   จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ มาทำกิจกรรมการเรียนการสอน
แนวคิดของผม คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ ได้แก่ การอนุญาติให้นักเรียนสามารถบันทึกวีดีโอการสอนของครูลงโทรศัพท์มือถือ หรือ กล้องวีดีโอต่างๆ ได้ เป็นนวัตกรรมที่อาจได้ชื่อว่า กล้องเพื่อการศึกษา เหมาะสมกับการศึกษาวิชาต่างๆโดยเฉพาะ วิชาคณิตศาสตร์ และควรเป็นชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6  เพราะ เป็นช่วงเวลาที่ต้องทบทวนเนื้อหาวิชาต่างๆเพื่อเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาต่อไปและนักเรียนจะได้ประโยชน์ดังนี้
1. สามารทบทวนเนื้อหาย้อนหลังได้ เนื่องจาก ต้องวุ่นวายในการหามหาลัยเพื่อเรียนต่อ
2. เป็นหลักฐานในการเข้าเรียนได้
3. เวลาขาดเรียนสามารถเรียนย้อนหลังได้
4. ป้องกันการแสดงกิริยาท่าทางหรือการใช้วาจาที่ไม่เหมาะสมหรือเชิงชู้สาวระหว่างครูกับนักเรียนได้

รูปแบบของสื่อหลายมิติ (Hypermedia)

            http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712 ได้รวบรวมและกล่าวถึงสื่อหลายมิติว่า มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติไว้ดังนี้
          น้ำทิพย์ วิภาวิน กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสม อื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพ เคลื่อนไหว
          วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
          กิดานันท์ มลิทอง กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

            http://www.learners.in.th/blog/chonlada2/310310 ได้รวบรวมและกล่าวถึงสื่อหลายมิติว่า
       วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
        กิดานันท์ มลิทอง กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

            http://www.learners.in.th/blog/hypermedia/310073 ได้รวบรวมและกล่าวถึงสื่อหลายมิติว่า สื่อหลายมิติ  หมายถึง  การนำเอาวัสดุอุปกรณ์ต่าง มาผสมผสานให้กลมกลืนกันเพื่อ เช่น  ภาพ นิ่ง   เสียง     ภาพเคลื่อนไหวเพื่อสื่อข้อมูลต่างๆ ให้ผู้เรียนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และเป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดแรงเสริมในการเรียนรู้  สื่อหลายมิติ สามารถอธิบายข้อมูลเริ่มต้นนั้นให้กระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น และจะดึงออกมาได้มากน้อยเท่าไรก็ได้ตามความต้องการต่อจากนั้นผู้อ่านก็สามารถอ่านเนื้อหาข้อมูลที่สนใจต่อไปได้ และสามารถดึงจุดต่อออกมาใช้ได้ทุกเวลาตามต้องการ 

สรุป
            สื่อหลายมิติ   หมายถึง   การเสนอข้อมูล เช่น  ภาพนิ่ง   เสียง     ภาพเคลื่อนไหวเพื่อสื่อข้อมูลต่างๆ ให้ผู้เรียนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม

เอกสารอ้างอิง
http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712 ได้เข้าถึงเมื่อวันที่26/07/2554
http://www.learners.in.th/blog/chonlada2/310310 ได้เข้าถึงเมื่อวันที่26/07/2554
http://www.learners.in.th/blog/hypermedia/310073 ได้เข้าถึงเมื่อวันที่26/07/2554


สื่อการสอนคืออะไร?

            http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html ได้รวบรวมและกล่าวถึงสื่อการสอนว่า สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะ ในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ

ประเภทของสื่อการสอน
        การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ
              ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523 : 112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                  1. วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น
                       - แผนภูมิ (Charts)
                       - แผนภาพ (Diagrams)
                       - ภาพถ่าย (Poster)
                       - โปสเตอร์ (Drawing)
                       - ภาพเขียน (Drawing)
                       - ภาพโปร่งใส (Transparencies)
                       - ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
                       - แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
                       - เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
                 2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่
                       - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
                       - เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors)
                       - เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
                       - เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
                       - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
                       - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
                 3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
                       - บทบาทสมมุติ (Role Playing)
                       - สถานการณ์จำลอง (Simulation)
                       - การสาธิต (Demonstration)
                       - การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
                       - การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                       - กระบะทราย (Sand Trays)

       การจำแนกสื่อการสอนตามแบบ (Form)
            ชอร์ส (Shorse. 1960 : 11) ได้จำแนกสื่อการสอนตามแบบเป็นหมวดหมู่ดังนี้
                 1. สิ่งพิมพ์ (Printed Materials)
                       - หนังสือแบบเรียน (Text Books)
                       - หนังสืออุเทศก์ (Reference Books)
                       - หนังสืออ่านประกอบ (Reading Books)
                       - นิตยสารหรือวารสาร (Serials)
                 2. วัสดุกราฟิก (Graphic Materials)
                       - แผนภูมิ (Chats)
                       - แผนสถิติ (Graph)
                       - แผนภาพ (Diagrams)
                       - โปสเตอร์ (Poster)
                       - การ์ตูน (Cartoons)
                 3. วัสดุและเครื่องฉาย (Projector materials and Equipment)
                       - เครื่องฉายภาพนิ่ง (Still Picture Projector)
                       - เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture Projector)
                       - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
                       - ฟิล์มสไลด์ (Slides)
                       - ฟิล์มภาพยนตร์ (Films)
                       - แผ่นโปร่งใส (Transparancies)
                 4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission)
                       - เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Disc Recording)
                       - เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder)
                       - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receiver)
                       - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
            http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/107 ได้รวบรวมและกล่าวถึงสื่อการสอนว่า
         ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่นหนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพแผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน
         บราวน์ และคณะกล่าวว่าจำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้นเช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลองตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น
         เปรื่อง กุมุท กล่าวว่าสื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
         ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่าวัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6&group_id=25&article_id=281ได้รวบรวมและกล่าวถึงสื่อการสอนว่า สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา

สรุป
            สื่อการสอน คือ การนำสื่อต่างๆมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา ซึ่งอาจเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน

เอกสารอ้างอิง
http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 26/07/2554
http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/107 ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 26/07/2554
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6&group_id=25&article_id=281ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 26/07/2554

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร


            http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-3.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพท์ การทำสำเนา การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น
            http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson1-1.asp ได้รวบรวมและกล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศว่า ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
            http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/tech.htmได้รวบรวมและกล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศว่า สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำ ข้อมูลดิบ (raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
            เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วย
1. ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing System)
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System)
5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)

สรุป
            เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพท์ การทำสำเนา การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง
http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-3.htm ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 26/07/2554
http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson1-1.asp ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 26/07/2554
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/tech.htm ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 26/07/2554

เทคโนโลยี หมายถึงอะไร


            http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138 ได้รวบรวมและกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีว่า เทคโนโลยี หมายถึง การใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
           http://www.eduzones.com/knowledge-2-8-28291.html  ได้รวบรวมและกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีว่า   เทคโนโลยีคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัยมีราคาแพงมีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้นรวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย
          http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/98   ได้รวบรวมและกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีว่า เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
สรุป
    เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ มาใช้กับเครื่องมือและมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้นรวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงาน

เอกสารอ้างอิง
http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138 ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 26/07/2554
http://www.eduzones.com/knowledge-2-8-28291.html ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 26/07/2554
http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/98 ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 26/07/2554

นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

            http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138 ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรมทางการศึกษาว่า นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
           http://www.learners.in.th/blog/22631/235365 ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรมทางการศึกษาว่า นวัตกรรมการศึกษา จะประกอบด้วย 2 คำคือ คำว่า นวัตกรรม และคำว่า การศึกษา 
            คำว่า นวัตกรรม  ตามความหมายที่สรุปไว้แล้วนั้น หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้ทั้งหมดหรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม วิธีการเดิม หรือสิ่งเดิมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
           ส่วนคำว่า การศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมายความว่ากระบวนการการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

            นางสาว วราภรณ์ รังษี http://www.gotoknow.org/blog/onn23/60504 ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรมทางการศึกษาว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดใหม่ รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้ปรับประยุกต์ สร้างสรรค์ และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิมหรือจากการคิดขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

สรุป
             นวัตกรรมการศึกษา  หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้ หรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม วิธีการเดิมหรือสิ่งเดิมที่ช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคล  และสังคมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

เอกสสารอ้างอิง
http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138 ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 26/07/2554
http://www.learners.in.th/blog/22631/235365 ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 26/07/2554
นางสาว วราภรณ์ รังษี http://www.gotoknow.org/blog/onn23/60504 ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 26/07/2554

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นวัตกรรม คืออะไร

          http://www.jeedbuddy.com/forumindex.php?topic=1033.0    ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรมว่า  นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญามีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจาก เป็นกลไกที่รัฐออกกฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองผลงานวิจัยและพัฒนา อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ความอุตสาหะและความเสียสละทั้งเงินทุนและเวลา เพื่อทำการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม   
            http://www.northeducation.ac.th/etraining/courses/3/itedu/chap1/index01_2.php    ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรมว่า
            กรมวิชาการ (2521 : 15) ให้ความหมายว่า นวัตกรรมคือ การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมวิธีการที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ผลดียิ่งขึ้น

            ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes, 1971) ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มา ปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

            โทดาโร (Todaro) (อ้างในปุระชัย : 2529) ให้ความหมายว่า หมายถึง ประดิษฐ์กรรม (Innovation) หรือการค้นพบสิ่งใหม่ เช่นผลผลิตใหม่ กระบวนการใหม่ ตลอดจนแนวคิดในการหาหนทางที่จะนำเอาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน แนวใหม่

            มอร์ตัน (J.A. Morton, 1973) กล่าวว่า " นวัตกรรม " หมายถึง การปรับปรุงของเก่าให้ใหม่ขึ้น และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุง เสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ

            ไมล์ แมทธิว (Miles Matthew B. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 14) ได้กล่าว ถึง นวกรรมไว้ในเรื่อง Innovation in Education ว่า นวกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่ การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล


            โรเจอร์ และชูเมคเกอร์ (Rogers and Shoemaker. 1971 : 19) ให้ความหมายไว้ว่า เป็นการนำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติ ซึ่งผ่านการทดลอง และได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ ตั้งแต่การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ (Development)และทดลองในวงแคบ (Pilot Project) แล้วจึงนำมาใช้ปฏิบัติจริง โดยการปฏิบัติจะ แตกต่างจากเดิม

            กิดานันท์ มลิทอง (2540 : 245) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิ- ภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

            ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521 : 3-4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หลักการวิธีปฏิบัติ และแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมของประเทศหนึ่ง อาจจะเป็นนวัตกรรม ของประเทศอื่นก็ได้ และสิ่งที่ถือว่าเป็นวัตกรรมแล้วในอดีตหากมีการใชักันอย่างแพร่หลาย แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม แต่สิ่งที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีตหากมีการนำ มาปรับปรุงใช้ได้อ
ย่าง มีประสิทธิภาพ สิ่งนั้นถือได้ว่าเป็นนวัตกรรม

            จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 :37) ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรมไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จ

            วสันต์  อติศัพท์ (2523 : 15) กล่าวไว้ว่า นวกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง นวและ กรรม”  ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เช่น นวกรรมทางการแพทย์ หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับ
ปรุง ตลอดจนแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นวกรรมการศึกษาก็หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา


            สวัสดิ์ บุษปาคม (2517 : 1) กล่าวว่า นวัตกรรมหมายถึง การปฏิบัติ หรือกรรม วิธีที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิมให้ดียิ่งขึ้น คือทำให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น


            เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2514 : 4) กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึง การเลือกการจัดและการใช้ทรัพยากรทั้งบุคคลและวัสดุอย่างชาญฉลาดในวิถีทางใหม่ ๆ ซึ่งเป็นผลให้ ได้รับความสำเร็จที่สูงกว่าและความสำเร็จนั้นเป็นความสำเร็จในจุดประสงค์ที่วางไว้ และ หมายรวมถึงการนำสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นความคิด วิธีการ ระบบความรู้ หรือเทคโนโลยี เข้ามาเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงของที่มีอยู่เดิมให้ผลดียิ่งขึ้น 

             ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526) ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ไว้ว่า หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม ทั้งนี้สิ่งนั้น ๆ ได้รับการพัฒนาทดลองจนเชื่อถือได้ว่า ให้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้เกิดประสิทธิภาพตามเป้าหมายนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ

            http://business.vayoclub.com/index.php?topic=1195.0 ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรมว่า    นวัตกรรม (Innovation)คือ การเรียนรู้ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกำเนิดผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม

สรุป
            สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ หรือการประดิษฐ์คิดค้น การค้นพบสิ่งใหม่ การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมวิธีการที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ผลดียิ่งขึ้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมถึง การปรับปรุงของเก่าให้ใหม่ขึ้น หรือความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์

เอกสารอ้างอิง
http://www.jeedbuddy.com/forumindex.php?topic=1033.0  ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 05/07/2554
http://www.northeducation.ac.th/etraining/courses/3/itedu/chap1/index01_2.php  ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 05/07/2554
http://business.vayoclub.com/index.php?topic=1195.0 ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 05/07/2554

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

            http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน   ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
            http://www.slideshare.net/worawan.wat/coop  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความแตกต่างกันประมาณ 3-6 คนช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม แต่ละคนต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการเรียนรู้และในความสำเร็จของกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเท่านั้น แต่ต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม ความสำเร็จของกลุ่มขึ้นอยู่กับสมาชิกทุกคนในกลุ่ม
            http://52040033.web.officelive.com/99.aspx  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  การส่งเสริมการเรียนแบบร่วมมือ  สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี  และได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมและการทำงานร่วมกับผู้อื่น  องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือมี ประการ ได้แก่
1.การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน 
2. การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
3. ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
4. การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
5. การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม

สรุป
            การส่งเสริมการเรียนแบบร่วมมือ  คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ความสำเร็จของกลุ่มก็ขึ้นอยู่กับสมาชิกของกลุ่มนั้น

เอกสารอ้างอิง
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 05/07/2554
http://www.slideshare.net/worawan.wat/coop   ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 05/07/2554
http://52040033.web.officelive.com/99.aspx   ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 05/07/2554

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

         http://supanida-opal.blogspot.com/2009/02/constructivismconstructionism.html    ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  ทฤษฎีที่มีพื้นฐานมากจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจต์ (Piaget) ทฤษฎี Constructionism พัฒนาโดย Seymour Papert แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massacchusetts Institute of Technology)  แนวคิดของทฤษฎีนี้ เชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและต้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียนจะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย และจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

            http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

            http://www.gotoknow.org/blog/kruarisara/396220 ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

สรุป
            การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างความรู้ให้ตนเองและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น  นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

เอกสารอ้างอิง
Dr.Supanida . http://supanida-opal.blogspot.com/2009/02/constructivismconstructionism.html ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 05/07/2554
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 05/07/2554
http://www.gotoknow.org/blog/kruarisara/396220 ได้เข้าถึงเมื่อวันที่ 05/07/2554